อยู่กับเด็ก

12/08/2018

ผู้เขียน  อีวา เดอ กอสโทยี

ตอนที่ฉันสังเกตเวลาเด็กๆเล่น ฉันเห็นว่าเด็กที่ถูกล้อหรือถูกรังแกมักจะวิ่งไปหาผู้ใหญ่  แต่ไม่ใช่เพื่อให้แก้ปัญหาให้กับพวกเขา ฉันกลับรู้สึกว่าเด็กๆเพียงต้องการให้ผู้ใหญ่ปลอบโยนและรับรู้ว่าพวกเขาถูกรังแก

จริงๆแล้วถ้าผู้ใหญ่รู้ว่าสิ่งที่เด็กๆต้องการมากที่สุดการรับฟังและความเข้าใจ ปัญหาต่างๆก็อาจจะง่ายขึ้น   ไม่ว่าจะเป็นเรื่องเล็กน้อยอย่างการถูกล้อหรือเรื่องใหญ่ที่เด็กถูกรังแกหรือถูกทำร้าย  เด็กๆจะมาหาผู้ใหญ่เพราะอยากจะรู้ว่าพวกเราจะคิดอย่างไรเมื่อมีเรื่องไม่ดีเกิดขึ้นกับพวกเขา

ดังนั้นเมื่อเราพบว่าเด็กถูกทำร้าย เราควรจะปฏิบัติตัวให้เหมาะสม ก่อนอื่นเราควรแสดงความเสียใจกับเด็กที่ถูกรังแก อาจจะพูดแสดงความเสียใจและปลอบโยนเขา  นอกจากนี้เราควรให้โอกาสเด็กได้ระบายความรู้สึกและเรื่องราวต่างๆที่เกิดขึ้น และแสดงความห่วงใยที่มีต่อเขา

บางครั้งการปฏิบัติตนเช่นนี้อาจจะทำได้ยาก โดยเฉพาะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในโรงเรียน คุณครูจำเป็นต้องจัดการทุกอย่างอย่างเร่งด่วน ต้องหาสาเหตุของการทะเลาะเบาะแว้งและแก้ปัญหา ซึ่งบ่อยครั้งจะมีบทลงโทษด้วย เนื่องจากภาระที่มากมายและเวลาอันน้อยนิด คุณครูจึงมักจะรีบจัดการปัญหาเมื่อมีเด็กมาแจ้งทำให้การรับฟังและปลอบโยนทำได้ไม่เต็มที่

ส่วนตัวฉันรู้จักคุณครูท่านหนึ่งที่คอยรับฟังเด็กอย่างเอาใจใส่มาก สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจคือเวลาเธอถามว่าจะให้เธอทำอะไรกับเด็กคนอื่นที่แกล้งไหม เด็กส่วนมากกลับบอกว่าไม่  บางครั้งเธอจะไปคุยกับเด็กที่รังแกคนอื่น ซึ่งเธอเองไม่รู้สึกกดดันมากนักเพราะรู้ดีว่าเด็กเหล่านั้นต้องการให้เธอรับรู้เรื่องราวของพวกเขา

อันที่จริงแล้วเมื่อเด็กๆรู้ว่าเราอยู่กับพวกเขา  พวกเขาก็มีความอุ่นใจ ไม่หวาดกลัว ดังนั้นเราจึงต้องทำให้พวกเขามั่นใจว่าการที่เราอยู่กับเขาขณะนี้หมายความว่าเราจะอยู่กับเขาในวันข้างหน้าด้วยเช่นกัน

เด็กๆต้องการความสนใจจากผู้ใหญ่ที่พร้อมที่จะรับฟังพวกเขา และพวกเขาอยากรู้ว่าผู้ใหญ่คิดกับพวกเขาอย่างไร ความสนใจนี้เป็นสิ่งสำคัญเปรียบเทียบกับเวลาที่เขาต้องอยู่กับเพื่อนๆซึ่งอาจจะมีเวลาที่เขารู้สึกไม่ปลอดภัยในบางครั้ง     ผู้ใหญ่จึงจำเป็นต้องคอยสอดส่องไม่ให้เกิดเรื่องไม่ดี ซึ่งเด็กๆก็จะรู้สึกปลอดภัย ทั้งนี้ไม่จำเป็นต้องสังเกตการณ์อยู่ตลอดเวลาก็ได้

สุดท้ายนี้ ฉันขอให้ผู้อ่านทุกท่านที่คลุกคลีกับเด็กๆลองปฏิบัติดู ลองรับฟังเรื่องราวของพวกเขา พูดปลอบโยนให้กำลังใจ โดยเฉพาะเวลาที่พวกเขาแสดงพยายาม ให้เขารู้ว่าเราจะจัดการกับเรื่องที่ไม่ดี และถึงแม้ว่าเราต้องจัดการเรื่องอื่นๆ เราก็จะคำนึงถึงความรู้สึกของพวกเขาเป็นอันดับแรก ถ้าทำได้ดังนี้ฉันมั่นใจว่าคุณจะเห็นเด็กๆมีความสุขมากขึ้น

empty